เมนู

6. อัญญมัญญปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

พึงกระทำเป็น 6 วาระ.

7. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

พึงกระทำปวัตติ และ ปฏิสนธิ ทั้ง 7 วาระ ในที่นี้ปัจจัยสงเคราะห์
ไม่มี.

8. อุปนิสสยปัจจัย


[149] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลาย
สงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

2. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ศรัทธา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
ศีล ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ สุขทางกาย แก่ทุกข์
ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
3. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

ที่ 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่ สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่
สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่
สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

4. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ
แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

9. ปุเรชาตปัจจัย


[150] 1. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็น
วิบาก ที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.